Protective Effects of Japanese Soybean Paste (Miso) on Stroke in Stroke-Prone Spontaneously Hypertensive Rats
2907 View(s)
Protective Effects of Japanese Soybean Paste (Miso) on Stroke in Stroke-Prone Spontaneously Hypertensive Rats (SHRSP)
โดย Hiromitsu Watanabe
วารสารวิชาการ American Journal of Hypertension 31(1) January 2018.
ที่มาและสมมติฐาน
จาหลายการศึกษาแบบ epidemiological พบว่าสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง (soybean isoflavones) มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงภาวะสมองขาดเลือดในมนุษย์.
แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า การบริโภคซุปมิโซ (miso) จะสามารถลดอุบุติการณ์การเกิด stroke ในสัตว์ได้หรือไม่.
ผู้ทำการศึกษาจึงได้ทำการศึกษาผลของซุปถั่วเหลือง (soybean paste, miso) ต่อการเกิด stroke ในสัตว์ทดลอง
วิธีการศีกษา
สัตว์ทดลอง ได้แก่ หนูกลุ่มสายพันธุ์ที่เป็นความดันโลหิตสูง (stroke-prone spontaneously hypertensive rat) ได้ถูกป้อนซุปมิโซ (สัดส่วนอาหารประกอบด้วย อาหารปกติร้อยละ 90, มิโซร้อยละ 10, ปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์ NaCl ร้อยละ 2.8)
, อาหารปริมาณเกลือสูง (high salt diet ประกอบด้วย อาหารปกติและเกลือโซเดียมคลอไรด์ NaCl ร้อยละ 2.5, ค่าปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์ NaCl สุดท้าย ร้อยละ 2.8)
, อาหารปริมาณเกลือต่ำ (low salt diet ประกอบด้วย อาหารปกติและเกลือโซเดียมคลอไรด์ NaCl ร้อยละ 0.3).
ผลการศึกษา
การวิเคราะห์ Kaplan-Meier survival curves พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่าในกลุ่มหนูที่กินอาหารประเภทเกลือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับซุปมิโซ (P เท่ากับ 0.002) และกลุ่มที่กินอาหารประเภทเกลือต่ำ (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.001).
มีการพบจุดเลือดออกในเนื้อสมอง (large hemorrhagic macules) ส่วน cerebrum ในกลุ่มที่ได้รับอาหารปริมาณเกลือสูง ในขณะที่ไม่พบลักษณะผิดปกติดังกล่าวในกลุ่มที่เหลืออีกสองกลุ่ม.
นอกจากนี้มีการพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้าน histological และ imunohistological เล็กน้อยในกลุ่มที่ได้รับมิโซ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารปริมาณเกลือสูง.
สรุป จากการศึกษานี้พบว่าซุปมิโซ อาจมีส่วนในการปกป้องกันเป็น stroke ทั้งที่มีปริมาณเกลือสูง
(รูปประกอบจาก https://www.foodnetwork.com/recipes/food-network-kitchen/miso-soup-recipe-2102742)