Does Aerobic Exercise Increase 24-Hours Ambulatory Blood Pressure Among Workers With High Occupational Physical Activity
2901 View(s)
Does Aerobic Exercise Increase 24-Hours Ambulatory Blood Pressure Among Workers With High Occupational Physical Activity ? - A RCT.
โดย Korshoj M และคณะ
วารสารวิชาการ Am J Hypertens (2017) 30 (4):444-450.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : อาชีพที่ต้องใช้แรงงานหรือการเคลื่อนไหวเป็นอย่างมาก (high occupational physical activity, OPA) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
และได้มีการแนะนำให้ออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว. การศึกษานี้ ได้ทำการประเมินผลของการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก ต่อความดันโลหิตชนิด 24 ชั่วโมง (24-hour ambulatory blood pressure, ABP) ในกลุ่มพนักงานทำความสะอาดที่มี high OPA.
วิธีการศึกษา : ได้มีการการสุ่ม สำหรับผู้เข้าร่วมการศีกษา ได้แก่ พนักงานทำความสะอาด จำนวน 116 คน มีอายุระหว่าง 18 ถึง 65 ปี ได้มีการใส่หัตถการ ระยะเวลาการ 4 เดือน ในกลุ่มทดลอง (aerobic exercise group, AE) (จำนวน 57 คน) ให้ทำออกกำลังแบบแอโรบิค เป็นเวลา 30 นาที จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุม (reference group, REF) (จำนวน 59 คน) ได้รับการสอน.
ได้มีการประเมินความแตกต่างของความดันโลหิตระหว่าง 2 กลุ่ม ที่ระยะเวลา 4 เดือน โดยการวิคราะห์แบบ intention-to-treat analysis โดยการใช้ repeated-measure 2x2 multiadjusted mixed-model design.
ผลการศึกษา: ข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (REF) พบว่า ระดับความดัน 24-hour ABP มีการเพิ่มขึ้นในผู้เข้าร่วมทำการศีกษาในกลุ่มทดลอง (AE)
ในกลุ่มควบคุม พบการเพิ่มขึ้นของระดับความดันซิสโตลิก 3.6 มิลลิเมตรปรอท (95% confidence interval (CI) 1.6-5.7) และความดันดัยแอสโตลิก 2.3 มิลลิเมตรปรอท (95%CI 0.9-3.8).
พนักงานทำความสะอาดที่มี high aerobic workload พบการเพิ่มขึ้นของระดับความดันซิสโตลิก 6.0 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 2.4-9.6) และความดันดัยแอสโตลิก 3.5 มิลลิเมตรปรอท (95%CI 1.3-6.4 มิลลิเมตรปรอท)
สรุป บุคลากรที่ทำงานประเภท high OPA พบว่าการออกกำลังกายประเภทแอโรบิค อาจมีผลต่อระดับความดันโลหิต.
ขอบคุณสำหรับรูปภาพประกอบจาก healthsciences.curtin.edu.au/wp-content/uploads/sites/6/2017/01/ohs-occupational-health-work.jpg