Hypertension Update
On-Treatment Blood Pressure and Cardiovascular Outcomes in Older Adults With Isolated Systolic Hypertension 2895 View(s)
On-Treatment Blood Pressure and Cardiovascular Outcomes in Older Adults With Isolated Systolic Hypertension

โดย Yuichiro Yano และคณะ

วารสารวิชาการ Hypertension 2017;69:220-227.

บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหาระดับที่เหมาะสม ของความดันโลหิตที่ได้รับการรักษา เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลอดเลือด (cardiovascular disease; CVD) และลดอัตราการตายจากทุกสาเหตุ (all cause mortality) ในกลุ่มผู้สูงอายุ ชาวญี่ปุ่น ที่มีภาวะ isolated systolic hypertension.

จากฐานข้อมูลการศึกษา the VALISH (Valsartan in Elderly Isolated Systolic Hypertension) ได้ทำการศึกษาในผู้สูงอายุ (จำนวน 3,035 คน, อายุเฉลี่ย 76 ปี) ที่มีค่าระดับความดันโลหิตซิสโตลิกมากกว่าหรือเท่ากับ 160 มิลลิเมตรปรอท และดัยแอสโตลิก น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยในการศึกษานี้ได้รับยา Valsartan โดยถูกจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มตามค่าระดับความดันโลหิตซิสโตลิกที่วัดได้ภายหลังได้รับการรักษา ได้แก่ ความดันซิสโตลิก น้อยกว่า 130 มิลลิตเมตรปรอท (มีจำนวน 317 คน) , 130 ถึง น้อยกว่า 145 มิลลิเมตรปรอท (จำนวน 2,025 คน) และ มากกว่าหรือเท่ากับ 145 มิลลิเมตรปรอท (จำนวน 693 คน).

วัตถุประสงค์การศึกษาชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ composite CVD (coronary heart disease, stroke, heart failure, cardiovascular deaths, other vascular disease, และ kidney disease) วัตถุประสงค์การศึกษาชนิดทุติยภูมิ ได้แก่ all cause mortality. การประเมิน CVD risk สำหรับแต่ละกลุ่ม ใช้การวิเคระห์ cox proportional hazards models

ระยะเวลาติดตามที่ค่ามัธยฐาน 3 ปี (8022 คน-ปี) พบ 93 CVD events และ 52 deaths เกิดขึ้น.
เมื่อใช้ระดับชั้นความดันโลหิตซิสโตลิก 130 ถึงน้อยกว่า 145 มิลลิเมตรปรอท ขณะรับการรักษาเป็นระดับอ้างอิง พบว่าจากการวิเคระาห์ multiple variable-adjusted hazard ratio และ 95 % confidence interval ของ CVD และ all-cause mortality พบว่าที่ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท เท่ากับ 2.08 (1.12 - 3.83) และ 2.09 (0.93 - 4.71) และ ที่ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่า 145 มิลลิเมตรปรอท เท่ากับ 2.29 (1.44 - 3.62) และ 2.51 (1.35 - 4.66) ตามลำดับ.

สำหรับระดับดัยแอสโตลิกในระหว่างการรักษานั้น ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับ CVD หรือ all cause mortality แต่อย่างใด.

สรุป ในผู้ป่วยสูงอายุ ชาวญี่ปุ่น ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ประเภท isolated systolic hypertension ระดับความดันซิสโตลิกระหว่าง 130 ถึง 144 มิลลิเมตรปรอทนั้น จะสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้าน CVD และ all cause mortality น้อยที่สุด ซึ่งคงต้องรอการยืนยันจากการศึกษาชนิด randomized controlled trials ในอนาคตต่อไป

Image credit www.idealbloodpressureinfo.com/wp-content/uploads/2014/01/high-systolic-blood-pressure