Hypertension Update
Clinic Versus Daytime Ambulatory Blood Pressure Difference in Hypertensive Patients 2900 View(s)
Clinic Versus Daytime Ambulatory Blood Pressure Difference in Hypertensive Patients. The Impact of Age and Clinic Blood Pressure.

โดย Jose R. Banegas และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2017;69:211-219.

บทคัดย่อ
ระดับความดันโลหิตแบบ clinic blood pressure (BP) มักจะสูงกว่า แบบ daytime ambulatory BP ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่การศึกษาล่าสุดที่ผ่านมาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยพบว่า ปัจจัยเรื่อง อายุ มีส่วนสำคัญ.

การศึกษา the Spanish ambulatory BP monitoring cohort ได้มีการทดสอบความแตกต่างระหว่างระดับความดันโลหิตแบบ clinic และ daytime BP กับปัจจัยด้านอายุ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 104,639 ราย (ที่มีความดันโลหิตแบบ office ซิสโตลิก / ดัยแอสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับการรักษาอยู่) ที่ได้รับการรักษาแบบ usual primary-care practice โดยทำการศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านอายุ , ตัวแปรด้านระบบหัวใจหลอดเลือด , และความดันแบบ clinic กับผลต่างระหว่างความดันแบบ clinic กับ daytime BP.

ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ multivariable regression model ของความแตกต่างอายุเฉลี่ย
, ภาวะ white-coat hypertension (หมายถึง ควมดันโลหิตแบบ clinic สูง , ความดันโลหิตแบบ daytime BP ปกติ), ภาวะ masked hypertension (หมายถึง ควมดันโลหิตแบบ clinic ปกติ , ความดันโลหิตแบบ daytime BP สูง)

พบว่า ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีค่าเฉลี่ยของ clinic BP สูงกว่า daytime BP ในทุกกลุ่มอายุ
พบภาวะ white-coat hypertension ร้อยละ 36.7 และภาวะ masked hypertension ร้อยละ 3.9 (พบได้ร้อยละ 18 หากใช้ค่าระดับความดันโลหิตซิสโตลิกที่คลินิก ที่ 130 - 139 มิลลิเมตรปรอท)

ปัจจัยอายุ มีผล ร้อยละ 0.1 ถึง 0.7 ต่อความแปรปรวน (variance) ของ quantitative หรือ categorical BP difference (P < 0.001). ปัจจัยด้านระบบหัวใจหลอดเลือด มีผลต่อความแปรปรวน ร้อยละ 1.6 ถึง 3.4 (P < 0.001)

สรุปผลจากการศึกษาที่มีขนาดประชากรใหญ่ พบว่า การใช้นิยามระดับความดันโลหิตแบบ clinic BP ทำให้มีการจัดนิยามระดับความรุนแรงของโรคผิดไปมากกว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วย. การให้คำนิยามผิดนี้ อาจไม่ได้มีผลกระทบจากปัจจัยด้านอายุ แต่อาจมีผลในกลุ่มที่เป็น borderline / grade 1 hypertension. โดยการศึกษานี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ ambulatory BP ในการให้คำนิยามการวินิจฉัยผู้ป่วยในการให้บริการทางเวชปฏิบัติในปัจจุบัน

Image credit จาก www.sonalhospital.com/wp-content