Effect of Different Dietary Interventions on Blood Pressure
2913 View(s)
Effect of Different Dietary Interventions on Blood Pressure.
Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials.
โดย Hawkins C. Gay.
วารสารวิชาการ Hypertension 2016;67:733-739.
บทคัดย่อ
จากผลการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ อาหารจำเพาะประเภท ต่อการควบคุมความดันโลหิต แต่สำหรับข้อมูลเชิง effectiveness นั้นยังไม่พบเพียงพอ. ผู้ทำการศึกษา ได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเชิงระบบ meta-analysis ในหัวข้อ dietary pattern intervention และการคาดการต่อผลของการควบคุมความดันโลหิต โดยฐานข้อมูลที่ได้ถูกทำการค้นหา ได้แก่ PubMed, EMBASE, และ Web of Science ระยะเวลาระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ.1990 ถึง 1 มีนาคม ค.ศ.2015
โดยการศึกษา ได้ทำการกำหนด inclusion, exclusion และ ใช้ radom effect meta-analysis models.
การศึกษา จำนวน 24 การศึกษา และ รวมจำนวนผู้ป่วย ทั้งสิ้น 23,858 คน ได้ถูกนำเข้าร่วมในการวิเคราะห์ โดยพบว่า overall pooled net effect ของ dietary intervention
ต่อการควบคุมความดันโลหิตซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก เท่ากับ -3.07 มิลลิเมตรปรอท (95% confidence interval, -3.85 ถึง -2.30) และ -1.81 มิลลิเมตรปรอท (95% confidence interval, -2.24 ถึง -1.38) ตามลำดับ.
อาหารประเภท The Dietary Approach to Stop Hypertension มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตมากที่สุด โดย ความดันซิสโตลิก -7.6 มิลลิเมตรปรอท (95% confidence interval, -9.95 ถึง -5.29) และความดันดัยแอสโตลิก -4.22 มิลลิเมตรปรอท (95% confidence interval, -5,87 ถึง -2.57)
นอกจากนี้พบว่า อาหารประเภท low-sodium, low-sodium/high potassium , low-sodium/low calorie มีผลต่อการลดลงของความดันทั้งซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก. ในขณะที่อาหารประเภท mediterranean มีผลต่อการลดลงเฉพาะความดันดัยแอสโตลิกเท่านั้น.
จากการศึกษากลุ่มย่อย ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของประสิทธิภาพ ในด้านของระยะเวลา , ขนาด และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประชากรที่ได้รับ.
สรุป การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับการลดลงของความดันโลหิต โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทของอาหาร.
Image credit: http://www.searchhomeremedy.com/wp-content/uploads/2013/06/Dash-Diet-Control-Hypertension.jpg