Allopurinol and Cardiovascular Outcomes in Adults With Hypertension
2925 View(s)
Allopurinol and Cardiovascular Outcomes in Adults With Hypertension.
โดบ Rachael L. MacIsaac และคณะ
วารสาารวิชาการ Hypertension 2016;67:535-540.
บทคัดย่อ
พบว่า Allopurinol มีผลต่อการลดลงของระดับความดันโลหิต และมีผลด้าน vasoprotective อื่นๆ โดยที่ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด.ผู้ทำการศึกษาได้ตั้งสมมติฐานว่า Allopurinol อาจความสัมพันธ์ในการดีขึ้นปัจจัยด้านระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุมาก.
จากข้อมูล the United Kingdom Clinical Research Practice Datalink
ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วย Multivariate Cox-proprotional hazard models เพื่อประเมิน hazard ratio สำหรับ stroke และ cardiac events ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่อายุ มากกว่า 65 ปี โดย ใช้ propensity-matched design เพื่อลดปัจจัยรบกวน.
ปัจจัยการได้รับยา allopurinol เป็นปัจจัยในลักษณะตัวแปร time-dependent หมายถึง การได้รับยาดังกล่าว ในปริมาณสูง (high dose exposure) ที่ปริมาณมากกว่า หรือเท่ากับ 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในปริมาณที่ต่ำกว่า (low dose exposure).
จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาดังกล่าว 2,032 ราย เปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่รับยาดังกล่าว ในจำนวนเท่ากัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา มีความสัมพันธ์ต่อการลดลงทั้ง stroke
(hazard ratio,0.50; 95% confidence interval,0.32-0.80) และ cardiac events
(hazard ratio,0.61; 95% confidence interval,0.43-0.87).
โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาในปริมาณสูง (จำนวน 1,052) มีความสัมพันธ์ ต่อการเกิด stroke
(hazard ratio,0.58; 95% confidence interval,0.36-0.94) และ cardiac events
(hazard ratio,0.65; 95% confidence interval,0.46-0.93) ที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาในปริมาณน้อย (จำนวน 980 คน)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.
สรุป จากการศึกษานี้ พบความสัมพันธ์ ของการได้รับยา allopurinol ปริมาณสูง ต่อการลดลงของการเกิด stroke และ cardiac events ในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคควมดันโลหิตสูง โดยต้องการการศึกษาในเชิง prospective เพื่อประเมิน ในปัจจัยนี้ต่อไป.
(image credit: http://www.canadianpharmacy365.net/wp-content/uploads/2016/02/Allopurinol-box.jpg)