Hypertension Update
Prevalence and Prognostic Significant of Apparent Treatment Resistant Hypertension in Chronic Kidney Disease 2898 View(s)
Prevalence and Prognostic Significant of Apparent Treatment Resistant Hypertension in Chronic Kidney Disease.
Report From the Chronic Renal Insufficiency Cohort Study

โดย George Thomas และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2016;67:00-00.

บทคัดย่อ: ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่าง apparent treatment resistant hypertension (ATRH) กับผลลัพธ์ทางคลินิก ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.

ผู้ทำการศึกษา ได้วิเคระห์ข้อมูลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,367 ราย จากฐานข้อมูล the Chronic Renal Insuffiency Cohort (CRIC) เพื่อทำการค้นหา ความชุก , ความสัมพันธ์ และ ผลลัพธ์ทางคลินิก ของ ATRH ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการล้างไต.

ภาวะ ATRH มีนิยามได้แก่ ระดับความดันโลหิตยังมากกว่า หรือเท่ากับ 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท ทั้งที่ได้รับยาลดความดันโลหิต มากกว่า หรือเท่ากับ 3 ชนิด หรือระดับความดันโลหิตอยู่ในเป้าหมายแต่ต้องได้รับยามากกว่า หรือเท่ากับ 4 ชนิด. พบว่า ความชุกของภาวะ ATRH อยู่ที่ร้อยละ 40.4 โดยปัจจัยด้าน อายุมาก , เพศชาย , เชื้อชาติผิวดำ , เบาหวาน , และ ดัชนีมวลกายสูง เป็น ปัจจัยส่งเสริมแบบ independent ต่อภาวะดังกล่าว. เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะ ATRH พบว่าวผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าว จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางคลินิกที่มากกว่า ได้แก่ composite ของ myocardial infarction, stroke, peripheral arterial disease,congestive heart failure (CHF)
และ all-cause mortality hazard ration [95% confidence interval], 1.38 [1.22-1.56]; renal event (1.28 [1.11-1.46] ); CHF (1.59 [1.28-1.99] ) และ all-cause mortality (1.24 [1.06-1.45] ).

ผู้ป่วยในกลุ่มย่อย ที่มีภาวะ ATRH และได้รับยาลดความดันโลหิตตั้งแต่ 4 ชนิด มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน composite สำหรับ myocardial infarction, stroke, peripheral arterial disease, CHF และ all-cause mortality hazard ration [95% confidence interval], (1.30 [1.12-1.51]) และ CHF (1.59 [1.28-1.99]) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะ ATRH

นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะ ATRH สัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิด CHF และ renal events สูงขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่ มีค่า estimated glomerular filtration rate มากกว่าหรือเท่ากับ 30 mL/min per 1.73 m2.

จากการศึกษานี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ภาวะ ATRH เป็นภาวะที่พบได้บ่อย , มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรัง และจำเป็นที่ต้องได้รับการวินิจฉัย ตลอดทั้งได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น

(image credit: http://www.kidney-cares.org/uploads/allimg/141110/12-1411100J545S1.png)