Cost-Effectiveness of a Physician-Pharmacist Collaboration Intervention to Improve Blood Pressure Control
2897 View(s)
Cost-Effectiveness of a Physician-Pharmacist Collaboration Intervention to Improve Blood Pressure Control.
โดย Polgreen LA, และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2015;66:1145-1151.
บทคัดย่อ: จากการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึง cost-effectiveness ของการรักษาแบบร่วมกันระหว่างแพทย์ และเภสัชกร ในการปรับปรุงการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย. แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาส่วนใหญ่ มีข้อจำกัดในการกระจายตัวของกลุ่มประชากรที่ศึกษา , ขาดประชาชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม และกลุ่มที่มีรายได้น้อย.
การศึกษา the Collaboration Among Pharmacist and Physicians to Improve Blood Pressure Now (CAPTION) trial ได้ทำการสุ่มผู้ป่วย จำนวน 625 คน จากสถานพยาบาล จำนวน 32 แห่ง จากจำนวน 15 รัฐ. โดยแต่ละสถานพยาบาลนั้น มีเภสัชกรที่มีความชำนาญด้านโรค (clinical pharmacist) ประจำอยู่ โดยเภสัชกรเหล่านั้น จะสื่อสารกับผู้ป่วย และสามารถให้คำแนะนำในการปรับการรักษาให้กับแพทย์ได้.
การศึกษา ได้มีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย , ความดันโลหิต , ยาลดความดันโลหิต , และประวัติการพบแพทย์ และนอกจากนี้ ยังได้มีการเก็บข้อมูล เวลาที่ใช้ในการพบกับเภสัชกร อีกด้วย. ค่าใช้จ่าย (cost) ได้ถูกกำหนด โดยมูลค่าของยารักษาโรค รวมถึง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยพบแพทย์ และเภสัชกร. อัตราของ Cost-effective ratios ได้ถูกคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต และอัตราความสำเร็จในการควบคุมระดับความดันโลหิต.
พบว่า มีผู้ป่วยร้อยละ 38 เป็นคนผิวดำ , ร้อยละ 14 เป็นชนชาติละติน และ ร้อยละ 49 มีรายได้น้อยกว่า 25,000 ดอลล่าร์. พบว่า ในเดือนที่ 9 ความดันซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก ลดลงเฉลี่ย เท่ากับ 6.1 (+/- 3.5) และ 2.9 (+/- 1.9) มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ. อัตราการของผู้ป่วยที่สามารถควบคุม ความดันโลหิต เท่ากับ ร้อยละ 43 ในกลุ่ม intervention เปรียบเทียบกับ ร้อยละ 34 ในกลุ่มควบคุม.
พบว่ามีค่าใช้จ่าย ในกลุ่ม intervention เท่ากับ 1,462.87 (+/- 132.51) ดอลล่าร์ และ ในกลุ่มควบคุม เท่ากับ 1,259.94 (+/- 183.30). โดยมีความแตกต่างกันอยู่ 202.93 ดอลล่าร์. ค่าใช้จ่าย ต่อการลดลงของระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และดัยแอสโตลิก ที่ 1 มิลลิเมตรปรอท เท่ากับ 33.27 และ 69.98 ดอลล่าร์ ตามลำดับ. ค่าใช้จ่าย ต่อ การเพิ่มขึ้นของการควบคุมความดันโลหิตได้ ร้อยละ 1 ในประชากรการศึกษานี้ เท่ากับ 22.55 ดอลล่าร์.
สรุป ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงการมี cost-effectiveness ของการให้การรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดย clinical pharmacist ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ.
(image credit: http://www.alimayar.com/how-one-man-is-helping-businesses-reach-more-customers-with-cost-effective-inclusive-products)