Prevalence of Apparent Therapy-Resistant Hypertension and Its Effect on Outcome in Patients with Chronic Kidney Disease
2903 View(s)
Prevalence of Apparent Therapy-Resistant Hypertension and Its Effect on Outcome in Patients with Chronic Kidney Disease
โดย de Bus E, และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2015;66:998-1005.
บทคัดย่อ: สำหรับการรักษาใหม่ สำหรับผู้ป่วยที่ม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ได้แก่ therapy-resistant hypertension (TRH) ที่เข้ามามีบทบาทในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease). การศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 788 คน จาก mulitcenter study ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ ผลของการรักษา แบบ integrated multifactorial approach โดยพยาบาล เสริมไปกับการรักษาปกติ กับ การรักษาแบบปกติ. การวัดความดันโลหิต กระทำที่สถานพยาบาล และ ใช้เครื่อง automated oscillometric ในระยะเวลา 30 นาที.
ภาวะ apparent TRH (aTRH) หมายถึง ระดับควมดันโลหิตที่มากกว่า หรือเท่ากับ 130 / 80 มิลลิเมตรปรอท ทั้งที่ได้รับยาลดความดันโลหิตมากกว่า หรือเท่ากับ 3 ชนิด โดยประกอบด้วยยาขับปัสสาวะ , หรือ ได้รับยาลดความดันโลหิตมากกว่า หรือเท่ากับ 4 ชนิด.
ผู้เข้าร่วมการศึกษา ได้ถูกทำการติดตาม composite cardiovascular endpoint สำหรับอุบัติการณ์ การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (myocardial infarction), โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือ การเสียชีวิตจากโรคหัวใจหลอดเลือด (cardiovascular mortality)
และ การเกิด end-stage renal disease.
พบว่า อุบัติการณ์ของภาวะ aTRH ร้อยละ 34 (วัดความดันโลหิตที่ สถานพยาบาล , office BP) และ ร้อยละ 32 (วัดความดันโลหิต จาก automated measurements). จากระยะเวลาติดตาม 5.3 ปี พบว่า ร้อยละ 17 ของผู้ป่วย aTRH เกิด cardiovascular endpoint และ ร้อยละ 27 เกิดภาวะ end-stage renal disease.
จากการวิเคราะห์แบบ multivariable-adjusted analysis พบว่า ภาวะ aTRH เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด cardiovascular endpoint เท่ากับ 1.5 เท่า (95% confidence interval, 0.8-3.0)
และ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด end-stage renal disease เท่ากับ 2.3 เท่า (95% confidence interval, 1.4-3.7).
จากระยะเวลาการติดตาม 4 ปี พบว่าความชุกของภาวะ aTRH ไม่ได้ลดลงในแต่ละกลุ่มผู้ป่วย , โดยมีความชุกเพิ่มมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.
สรุป การเกิดภาวะ TRH นั้นมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ด้าน renal และ cardiovascular outcomes.
(image credit: http://renalfellow.blogspot.com/2011/10/resistant-hypertension-breaking-barrier.html)