Effect of Lower On-Treatment Systolic Blood Pressure on the Risk of Atrial Fibrillation in Hypertensive Patients
2916 View(s)
Effect of Lower On-Treatment Systolic Blood Pressure on the Risk of Atrial Fibrillation in Hypertensive Patients
โดย Okin PM และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2015;66:368-373.
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูงและการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation (AF) นั้นเป็นที่ยอมรับกัน โดยแท้ที่จริงแล้ว ระดับความดันซิสโตลิกที่สูงกว่าค่าปกติ นั้นเป็นปัจจัยการทำนายโรคของ AF ในระยะยาว โดยมีคำแนะนำว่า การควบคุมระดับความดันโลหิตอย่างเข้มงวดนั้นอาจจะช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค AF ได้. แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การควบคุมความดันซิสโตลิก ได้ในระดับที่ต่ำกว่า จะมีผลต่อการเกิดโรค AF ที่น้อยกว่า.
การศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดโรค AF นั้นได้ทำการศึกษาในความสัมพันธ์ของระดับความดันซิสโตลิกครั้งสุดท้าย ก่อนการวินิจฉัยว่าเป็นโรค AF หรือระดับความดันโลหิตครั้งสุดท้ายในการศึกษาที่ไม่ได้เกิดโรค AF ในผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8,831 คน ที่มีเป็น sinus rhythm และ left ventricular hypertrophy โดยได้ทำการสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วยยา losartan หรือ atenolol ผู้ทำการศึกษาได้เปรียบเทียบ ผู้ป่วยที่ได้ระดับเป้าหมายการรักษาความดันซิสโตลิก น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท (lowest quintile ในการรักษาครั้งสุดท้าย) และระดับความดันซิสโตลิกระหว่าง 131 ถึง 141 มิลลิเมตรปรอท โดยเปรียบเทียบกับ กลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับความดันซิสโตลิกในการรักษาที่มากกว่าหรือเท่ากับ 142 มิลลิเมตรปรอท (ค่า median ของความดันซิสโตลิกในการวัดครั้งสุดท้าย) ตลอดระยะเวลาการติดตาม 4.6 +/- 1.1 ปี พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น AF รายใหม่ จำนวน 701 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9. ภายหลังจาการวิเคราะห์แบบ multivariate Cox เพื่อทำการเปรียบเทียบปัจจัยผลรักษาของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกระหว่างกลุ่มที่ความดันซิสโตลิกที่มากกว่าหรือเท่ากับ 142 มิลลิเมตรปรอท และ กลุ่มที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท พบว่าในกลุ่มหลังมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงโรค AF ที่เกิดใหม่ ร้อยละ 40 (ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ ร้อยละ 18 - 55 ) และในกลุ่มที่ความดันซิสโตลิก 131 ถึง 141 มิลลิเมตรปรอท พบว่ามีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงโรค AF ที่เกิดใหม่ ร้อยละ 24 (ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ ร้อยละ 7 - 38 )
ดังนั้น ระดับความดันซิสโตลิกที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท นั้นมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค AF ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบลักษณะ left ventricular hypertrophy.
image credit : www.mayoclinic.org/~/media/kcms/gbs/patient%20consumer/images/2014/07/07/14/43/mcdc11_heartforafib.jpg