Changing relatationship among clinic, home, and ambulatory blood pressure with increasing age
2896 View(s)
Changing relationship among clinic, home, and ambulatory blood pressure with increasing age
โดย Stergiou GS และคณะ
วารสารวิชาการ Journal of The American Society of Hypertension (JASH) July 2015, volume 9, issue 7, pages 544-552.
บทคัดย่อ
มีหลายการศึกษาในผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกัน ในระดับความดันโลหิตทีบ้าน (home blood pressure, HBP) และ ระดับความดันโลหิตแบบติดตามในเวลากลางวัน (daytime ambulatory blood pressure, dABP)ซึ่งมักจะมีค่าต่ำกว่าระดับความดันโลหิตที่วัดที่สถานพยาบาล (clinic blood pressure, CBP). การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นหาความมีผลกระทบของปัจจัยด้านอายุ ต่อระดับความดันโลิหิตดังกล่าว.
มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 642 ราย ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ได้ถูกส่งเข้าคลินิกโรคความดันโลหิตสูง เพื่อทำการวัดระดับความดันโลหิต ทั้ง CBP , HBP และ dABP ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีอายุเฉลี่ย 38.6 +/- 19.4 ปี (ระยะตั้งแต่ 5 ถึง 78 ปี) , เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.1.
ในผู้ป่วยเด็ก พบว่า ระดับความดันโลหิต dABP จะสูงกว่าทั้ง CBP และ HBP โดยความแตกต่างนี้จะน้อยลง แปรผกผันกับอายุที่มากขึ้น และภายหลังจากอายุที่มากกว่า 30 ปี พบว่าระดับความดันโลหิต dABP นั้นมีความคล้ายคลึงกับ HBP โดยที่ทั้งสองค่านั้นจะต่ำกว่า CBP. สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี พบว่าระดับความดันโลหิต dABP มีค่าต่ำกว่า HBP
ปัจจัยด้านอายุ และระดับความดันโลหิตสูง พบว่า อาจมีความไม่สัมพันธ์กัน สำหรับปัจจัยการทำนายโรค ระหว่างการวัดความดันโลหิตทั้งสามวิธี. จากข้อมูลในการศึกษานี้แนะนำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดันโลหิตที่วัดที่สถานพยาบาล และนอกสถานพยาบาลนั้นอาจไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มอายุ และควรที่จะต้องระบุสถานที่วัดความดัน และมีความระมัดระวังในการประเมิน กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติ.