Strategies for Classifying Patients Based on Office, Home, and Ambulatory Blood Pressure Measurement
2894 View(s)
Strategies for Classifying Patients Based on Office, Home, and Ambulatory Blood Pressure Measurement
โดย Lu Zhang และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2015;65:1258-1265.
บทคัดย่อ
แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง ได้แนะนำการวัดความดันที่บ้าน (home) หรือ การวัดความดันชนิดติดตาม (ambulatory blood pressure [BP] monitoring) ภายหลังจากการวัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาล (office). แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำแนะนำอย่างชัดเจนว่า ควรเลือกการวัดความดันโลหิตประเภทใดมากกว่ากัน ระหว่าง home และ ambulatory BP monitoring.
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รับการรักษา จำนวน 831 คน (อายุเฉลี่ย 50.6 ปี , เพศหญิง ร้อยละ 49.8) ได้ถูกวัดความดันโลหิตทั้งแบบ office (3 ครั้ง) , home (7 วัน) และ 24-h ambulatory BP โดยได้ทำการให้คำนิยามตามแนวทางคำแนะนำการรักษาความดันโลหิตสูง ได้แก่ normotension , white-coat , masked หรือ sustained hypertension.
จากข้อมูลการวัดความดันโลหิตประเภท office และ home พบอุบัติการณ์ของความดันโลหิตสูงชนิด white coat , masked และ sustained ได้แก่ ร้อยละ 10.3 , 20.0 และ 19.5 ตามลำดับ.
เมื่อใช้การติดตามความดันโลหิต daytime (จากเวลา 8 โมงเช้า ถึงเวลา 6 โมงเย็น) แทนการวัดความดันโลหิตที่บ้าน พบว่า มีการ cross-classification ถึงร้อยละ 69.2 โดยมีการ downgraded risk จาก masked hypertension เป็น normotension (จำนวนผู้ป่วย 24 คน) หรือ จาก sustained hypertension เป็น white-coat (จำนวนผู้ป่วย 9 คน) ในผู้ป่วย 33 คน (ร้อยละ 4)
แต่ พบว่ามีการ upgraded risk จาก normotension เป็น masked hypertension (จำนวนผู้ป่วย 179 คน) หรือจาก white-coat เป็น sustained hypertension (จำนวนผู้ป่วย 44 คน)
ในผู้ป่วย 223 คน (ร้อยละ 26.8) ซึ่งการวิเคราห์การติดตามความดันโลหิตแบบ 24 ชั่วโมงนั้นช่วยยืนยันผลดังกล่าว.
ภายหลังจาก adjusted analysis พบว่าทั้ง urinary albumin-to-creatinine ratio (+20.6 %; confidence interval, 4.4 - 39.3) และ aortic pulse wave velocity (+0.30 m/s; confidence interval, 0.09 - 0.51) พบมากกว่าในผู้ป่วยที่ถูกเปลี่ยนการวินิจฉัยไปในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า ทั้งค่าดัชนีของ target organ damage และ central augmentation index มีค่าความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เมื่อมีการ reclassified (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.048).
สรุป สำหรับความน่าเชื่อถือในการวินิจฉัย และการเริ่มการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง แนะนำให้ทำการตรวจวัดการติดตามความดันโลหิต (ambulatory BP monitoring) ภายหลังจากการวัดความดันโลหิต office การใช้การวัดความดันโลหิตที่บ้าน อาจทำให้พลาดการวินิจฉัยกลุ่ม masked หรือ sustained hypertension ที่มีความเสี่ยงสูง ถึงร้อยละ 25.