Cost-Effectiveness of Hypertension Therapy According to 2014 Guidelines
2894 View(s)
Cost-Effectiveness of Hypertension Therapy According to 2014 Guidelines
โดย Andrew E Moran. และคณะ
วารสารวิชาการ N Eng K Med 2015;372:447-55.
บทคัดย่อ
ที่มา : บนพื้นฐานของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามคำแนะนำในปี 2014 พบว่า ยังมีผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้าเกณฑ์อีกมากมาย ที่ยังไม่ได้รับการรักษา. ผู้ทำการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา Cost-effectiveness ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามคำแนะนำในปี 2014.
วิธีการ : ผู้ทำการศึกษาได้ใช้ the Cardiovascular Disease Policy Model สำหรับการพิจารณาการรักษาและติดตาม ค่ารักษา และค่ารักษาสำหรับโรคระบหัวใจหลอดเลือด และประเมิน quality-adjusted life-years (QALY) ของการรักษาในผู้ป่วย ที่อายุระหว่าง 35 ถึง 74 ปี ที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน ตั้งแต่ระยะเวลาในปี 2014 ถึง 2024. โดยทำการศึกษาด้าน cost-effectiveness
ตามปัจจัย อายุ , ระดับความดันโลหิตสูง , และการมีหรือไม่มีภาวะโรคไตเรื้อรังหรือเบาหวาน.
ผลการศึกษา : จากาการนำใช้ของคำแนะนำในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงอันใหม่ พบภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหัวใจหลอดเลือดน้อยลง 56,000 รายต่อปี และ การตายจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือดน้อยลง 13,000 รายต่อปี ซึ่งช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย. การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว หรือ โรคความดันโลหิตสูง ระดับ 2 จะช่วยในการรักษาชีวิต และประหยัดค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 74 ปี และสำหรับผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 74 ปี.
การรักษาผู้ป่วยทั้งชายและหญิง ที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว หรือผู้ชาย ที่มีโรคความดันโลหิตสูงระดับ 2 แต่ยังไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือด พบว่ายัง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายถ้ามีกลยุทธ์ในการเพิ่มการติดตามให้มีการกินยาต่อเนื่อง.
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงระดับ 1 จะมี cost-effectiveness (หมายถึง น้อยกว่า 50,000 ดอลล่าห์ ต่อ QALY) สำหรับผู้ชาย หรือ ผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 45 ถึง 74 ปี
ในขณะที่การรักษาผู้หญิงโรคความดันโลหิตสูงระดับ 1 ที่มีอายุ 35 ถึง 44 ปี แต่ยังไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือด พบว่ามี cost-effective ในระดับปานกลาง หรือระดับต่ำ.
สรุป : การนำคำแนะนำในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในปี 2014 ไปใช้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุ 35 ถึง 74 ปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีศักยภาพในการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจหลอดเลือด และการตาย ที่ 56,000 และ 13,000 ต่อปี ตามลำดับ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย. การควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่ก่อน หรือ ระดับ 2 จะมีประสิทธิภาพและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย.