High dietary acid load is associated with increased prevalence of hypertension: The Furukawa Nutrition and Health Study.
2893 View(s)
igh dietary acid load is associated with increased prevalence of hypertension: The Furukawa Nutrition and Health Study.
โดย Akter S , และคณะ
วารสารวิชาการ Nutrition 2015 Feb; 31(2): 298-303.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ภาวะกรดด่างในร่างกายอาจส่งผลต่อระดับความดันโลหิต แต่ยังมีข้อมูลจำกัดระหว่างการรับประทานอาหารประเภทกรด ต่อระดับความดันโลหิตสูง โดยผู้ทำการศึกษา ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าการรับประทานประเภทกรด และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มตัวอย่างชาวญี่ปุ่น
วิธีการ: ข้อมูลจากการสำรวจในลูกจ้าง 2028 คน ที่มีอายุ 18 ถึง 70 ปี โดยทำการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินลักษณะการบริโภคอาหาร. กระบวนการในการตรวจสอบและวัดปริมาณกรดในร่างกาย ทำได้ 2 วิธี ได้แก่ potential renal acid load และ estimated net endogenous acid production
ผลการศึกษา: การบริโภคอาหารที่มีภาวะการเป็นกรดสูง อาจมีความสัมพันธ์กับความชุกที่เพิ่มขึ้น ของภาวะความดันโลหิตสูง. การวิเคราะห์แบบ mutivariable adjusted odds ratio (95% confidence interval)ของภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับการสร้างกรดภายในร่างกาย (จาก the lowest ถึง highest tertiles) เท่ากับ 1.0 (ค่าอ้างอิง) , 1.07 (0.80-1.42) และ 1.33 (0.998-1.78) ตามลำดับ (P for trend = 0.053). ความสัมพันธ์กล่าว พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสตถิติ ในคนน้ำหนักปกติ (body mass index < 23 kg/m(2) ; P for trend = 0.03 ) และ non-shift worker (P for trend= 0.04). ความสัมพันธ์ในแนวทางเดียวกันดังกล่าว พบระหว่าง potential renal acid load และ ภาวะความดันโลหิตสูงด้วย.
สรุป: จากข้อมูลดังกล่าว สนับสนุนว่า การบริโภคอาหารที่มีกรดสง อาจจะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และกลุ่ม non-shift worker.