Tight Versus Standard Blood Pressure Control in Patients With Hypertension With and Withiout Cardiovasular Disease
2894 View(s)
Tight Versus Standard Blood Pressure Control in Patients With Hypertension With and Withiout Cardiovasular Disease
โดย Gianpaolo Reboldi และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension. 2014;63:475-482.
บทคัดย่อ
การลดความดันโลหิตที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีความเสี่ยงสูง. ในการศึกษา the Studio Italiano Sugli Effetti CARDIOvasculari del Controllo della Pressione Arteriosa SIStolica (Cardio-SIS) มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวาน ที่ความดันโลหิตซิสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิเมตรปรอท จำนวน 1,111 คน
ทำการสุ่ม ให้ได้รับการควบคุมความดันโลหิตซิสโตลิก น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (standard control) หรือ น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท (tight control). ได้ทำการจำแนกผู้ป่วย เป็น การไม่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด พบจำนวน 895 คน และมีโรคดังกล่าว จำนวน 216 คน. การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต เป็นลักษณะ open-label และ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน ทำการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 2 ปี.
ผลการศึกษาชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ การมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว (left ventricular hypertrophy) โดยพบความผิดปกติดังกล่าว ในกลุ่ม tight control น้อยกว่า กลุ่ม standard control ทั้งในกลุ่มที่ไม่มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือด (ร้อยละ 10.8 กับ 15.2) และกลุ่มที่มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดแล้ว (ร้อยละ 14.1 กับ 23.5) ค่า P for interaction เท่ากับ 0.82.
ผลการศึกษาชนิดทุติยภูมิ ได้แก่ composite endpoint of cardiovascular events และ all-cause death พบในกลุ่ม tight control เกิดน้อยกว่ากลุ่ม standard control
ทั้งในผู้ป่วยที่ยังไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือด (1.47 กับ 3.68 patient-years, P=0.016) และผู้ที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดแล้ว (ร้อยละ 7.87 กับ 11.22 patient-years, P=0.049).
การศึกษาแบบ multivariable Cox model , พบว่าการรักษาความดันโลหิตสูงแบบ tight control มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ทั้งในกลุุุ่มผู้ป่วยที่มี หรือยังไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่แล้วก็ตาม (P for interaction = 0.43).
สรุป การรักษาความดันโลหิตสูงอย่างเข้มงวด มีเป้าหมายให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก น้อยกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท มีส่วนช่วยในการลดการพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว และช่วยในผลรักษาทางคลินิก ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่มี หรือไม่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่แล้ว.
(เครดิตภาพประกอบ http://1.bp.blogspot.com/-ZT3qfHZ70DQ/UuTbw4jbOOI/AAAAAAAAAHs/R5ETPp03oug/s1600/M13-2981.jpg)