Global Sodium Consumption and Death from Cardiovascular Causes
2915 View(s)
Global Sodium Consumption and Death from Cardiovascular Causes
โดย Dariush Mozaffarian และคณะ
วารสารวิชาการ New England Journal of Medicine 2014;371:624-34
- บทคัดย่อ
ที่มา : การบริโภคเกลือโซเดียมในปริมาณสูง มีผลต่อการเพิ่มระดับความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ ผลของปัจจัยดังกล่าวต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นยังไม่มีข้อมูลชัดเจน.
- วิธีการศึกษา ผู้ทำการศึกษา ได้ทำการเก็บข้อมูลสำรวจปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียม โดยประเมินจากการขับออกมาในปัสสาวะ ในประชากรจาก 66 ประเทศ (ซึ่งเทียบเป็นประมาณร้อยละ 74.1 ของประชากรผู้ใหญ่ในโลก) ตามปัจจัยอายุ เพศ และประเทศ. ผลของการบริโภคเกลือโซเดียมต่อ ความดันโลหิต ตามปัจจัยของอายุ เชื้อชาติ และการมีหรือไม่มีโรคความดันโลหิตสูง ได้ถูกนำมาคำนวณในการวิเคราห์แบบ meta-analysis ของการศึกษาแบบ randomized จำนวน 107 การศึกษา เพื่อศึกษาผลของระดับความดันโลหิต ต่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด. สาเหตุจำเพาะของการเสียชีวิต ได้จากการข้อมูล Global Burden of Disease Study 2010. จากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ต่อการบริโภคเกลือโซเดียม โดยเปรียบเทียบกับการบริโภคเกลือโซเดียม ที่มาตรฐาน 2 กรัมต่อวัน ตามปัจจัย อายุ เพศ และประเทศ.
- ผลการศึกษา
ในปี ค.ศ. 2010 ได้มีการคาดการณ์ค่าเฉลี่ยของการบริโภคเกลือโซเดียมอยู่ที่ 3.95 กรัมต่อวัน โดยมีค่าตั้งแต่ 2.18 ถึง 5.51 กรัมต่อวัน. ประชากร 1.65 ล้านคน (95 % uncertainty interval
[confidence interval] 1.10 ถึง 2.22 ล้านคน) มีการเสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่ามีการบริโภคเกลืออโซเดียมมากกว่าค่ามาตรฐาน โดยประชากรที่เสียชีวิต พบเป็นเพศชาย ร้อยละ 61.9
และเพศหญิง ร้อยละ 38.1. พบว่าร้อยละ 84.3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต อยู่ในประเทศที่มีฐานะยากจน หรือปานกลาง. การเสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลอดเลือด นั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือโซเดียมที่มากกว่าทั่วไป โดยพบมากที่สุดที่ประเทศจอร์เจีย และพบน้อยที่สุด ที่ประเทศ เคนยา
- สรุป ในปี 2010 ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลือดเลือด จำนวน 1.65 ล้านคน พบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือโซเดียมที่มากกว่าระดับอ้างอิง คือ 2 กรัมต่อวัน