Hypertension Update
Long-Term Prognostic Value of White Coat Hypertension (Hypertension 2013) 2894 View(s)
Long-Term Prognostic Value of White Coat Hypertension.
An Insight From Diagnostic Use of Both Ambulatory and Home Blood Pressure Measurements.

โดย Giuseppe Mancia และคณะ
วารสารวิชาการ Hypertension 2013;62:168-174.

บทคัดย่อ
การพยากรณ์โรคใน white coat hypertension (WCH) ยังมีข้อถกเถียงกันในปัจจุบัน. การศึกษานี้ ได้นำกลุ่มประชากรทั่วไปจำนวน 2,051 คน ของเมืองมอนซา ทำการวัดความดันโลหิตแบบ
office, ambulatory และ home blood pressure (BP). โดยได้ทำการติดตามความเสี่ยงการเสียชีวิตจากระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตรวมไม่จำแนกสาเหตุ ในระยะเวลา 16 ปี ในกลุ่มประชากร โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติ (normotensive) , กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงอย่างแท้จริง (sustained hypertensive) และ กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงเมื่อพบแพทย์
(white coat hypertension, WCH). โดยในกลุ่ม WCH ได้ให้คำนิยามว่า ได้ตรวจพบความดันโลหิตปกติ ที่นอกโรงพยาบาล เช่น วัดความดันโลหิตแบบ ambulatory หรือ home BP แต่พบว่าความดันโลหิตสูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาล (office BP elevation).

เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ความดันโลหิตปกติ พบว่า การเสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มประชาการ WCH และ sustained hypertensive (2.04 และ 2.94, P=0.006). และมีผลในทางเดียวกัน สำหรับการเสียชีวิตรวมแบบไม่จำแนกสาเหตุ เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มประชากรดังกล่าาว.

อย่างไรก็ตาม พบว่า ประชากร WCH นั้นจำแนกออกได้อีก 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติในการวัดความดันนอกโรงพยาบาลทั้งสองวิธี (ture WCH พบร้อยละ 42)และ กลุ่มที่มีความดันโลหิตปกติ เพียง 1 วิธีจากการวัดความดันโลหิตนอกโรงพยาบาล (partial WCH, พบร้อยละ 58) จากการศึกกษาในกลุ่ม WCH พบว่า เฉพาะกลุ่มหลัง นี้ที่มีความสำคัญต่อการเสียชีวิตทั้ง จากระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตรวมไม่จำแนกสาเหตุ (2.76 และ 1.58, P <0.03) . เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรความดันโลหิตปกติ พบว่า กลุ่ม partial WCH มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น sustained hypertension ในระยะเวลาติดตามมากกว่า 10 ปี (2.58; P<0.0001), แต่ความเสียงนี้จะมากขึ้นในกลุ่ม true WCH (2.89; P<0.0001).

สรุป ประชากรกลุ่ม WCH นั้นมีความแตกต่างในการพยากรณ์โรคระยะยาวในการเกิดความเสี่ยงด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด. การค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงด้วยวิธีการวัดความดันโลหิตนอกโรงพยาบาลทั้งสองวิธี จึงเป็นสิ่งจำเป็น.