Hypertension Update
Association of Sodium and Potassium Intake with Ventricular Arrhythmic Burden in Patients with Essential Hypertension. 2896 View(s)
บทคัดย่อ Association of Sodium and Potassium Intake with Ventricular Arrhythmic Burden in Patients with Essential Hypertension.

โดย Maria E. Marketou และคณะ

วารสารวิชาการ Journal of the American Society of Hypetertension 2013 ;7(4): 276-282

ที่มา : ประชากรผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด ventricular arrhythmia และ การเสียชีวิตเฉียบพลันจากภาวะทางหัวใจ (sudden cardiac death). การรับประทานอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบสูง อาจจะเป็น ปัจจัยที่สำคัญมากประการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. การศึกษานี้ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีเกลือโซเดียมและเกลือโปแตสเซียม , ค่าตรวจปัสสาวะ urinary sodium (UNa) urinary potassium (UK) อัตราส่วนของ urinary sodium/potassium ratio (UNa/K) และการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.

วิธีการศึกษา: ผู้ศึกษาได้คัดเลือกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน 255 ราย ซึ่งได้ทำการตรวจที่คลินิกผู้ป่วยนอกของโรงเรียนแพทย์
และได้มีอาการเจ็นแน่นหน้าอกที่ไม่จำเพาะ และหรือมีอาการใจสั่น. ผู้ป่วยทุกรายได้ถูกส่งตรวจเครื่องมือการติดตามคลื่นหัวใจที่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง (24-hour ambulatory electrocardiograph monitoring), เก็บตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อ วิเคราะห์ UNa, UK และ อัตราส่วน UNa/K .
ผลการศึกษา : ไม่พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ระกว่าง การเกิด premature supraventricular contractions กับ ค่าตรวจปัสสาวะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามพบว่า อัตราการเกิด premature ventricular contractions (PVC%) มีความสัมพันธ์แบบ weak positive ต่อ UNa (r= 0.2; P= .001) และ moderate negative ต่อ UK (r= -0.0396; P< .001). พบมีความสัมพันธ์บางส่วน แบบ partial correlation coefficient ระหว่าง PVC% กับ UNa/K ratio ภายหลังจากควบคุมปัจจัย left ventricular mass index (r= 0.437; P < .001).

สรุป : อัตราส่วนของ UNa/UK excretion มีความสัมพันธ์ ของการเกิด PVCs อย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเกิด ventricular arrhythmia ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี. ผลจากการศึกษานี้ ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในประชากรกลุ่มดังกล่าว.