Predictors of Decline in Medications Adherence Result From the Cohort Study of Medication Adherence Among Older Adults โดย Marie Krousel-Wood และคณะ วารสาร Hypertension 2011;58:804-810.
บทคัดย่อ ยังมีข้อมูลไม่มากนัก สำหรับปัจจัยการพยากรณ์ความไม่ต่อเนื่องของการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต และความสัมพันธ์ระหว่างความไม่ต่อเนื่องในการรักษาดังกล่าวกับระดับการควบคุมความดันโลหิต. จากการวิเคราะห์ผู้เข้าร่วม 1,965 คนใน the Cohort Study of Medication Adherence Among Older Adults ระหว่าง เดือนสิงหาคม ปีค.ศ.2006 ถึงเดือนกันยายน ปีค.ศ.2007 ความไม่ต่อเนื่องในการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ได้แก่ การลดลงของคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน ในแบบทสอบ the 8-item Morisky Medication Adherence Scale โดยสอบถามทางโทรศัพท์ในปีที่ 1 และ 2. ปัจจัยเสี่ยงของการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง ได้ทำการ เก็บข้อมูลจากการสอบถามทางโทรศัพท์เช่นกัน. พบว่าอัตราการลดลงของความต่อเนื่องในการรักษา ได้แก่ ร้อยละ 4.3 (จำนวนผู้ป่วย 159 ราย) โดยภายหลังจากวิเคราะห์ multivariate พบว่า ความไม่ต่อเนื่องในการรักษามีความสัมพันธ์กับ การควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้เมื่อมาตรวจติดตาม(มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)odd ratio (OR) 1.68(95%CI:1.01-2.80) ,การมีอาการซึมเศร้า (OR: 1.84 [95%CI: 1.20-2.82]) , ภาวะความตึงเครียดในชีวิตสูง (high stressful life events score)(OR: 1.68 [95%CI: 1.19-2.38]).
ปัจจัยที่มีผลดีสำหรับความต่อเนื่องในการรักษา ได้แก่ ปัจจัยเพศหญิง (OR: 0.61 [95%CI: 0.42-0.88]) ,การแต่งงานแล้ว (OR: 0.68 [95%CI: 0.47-0.98]) และการได้รับยา calcium channel blocker (OR: 0.68 [95%CI: 0.48-0.97]).
สรุป ปัจจัยที่มีผลความไม่ต่อเนื่องในการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ประการหนึ่งได้แก่ การควมคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังกล่าว. ในอนาคต ยังรอการศึกษาถึงแนวทางในการป้องกันสำหรับความไม่ต่อเนื่องในการรักษา และแนวทางการควบคุมความดันโลิหิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น. |