Cognitive evoluation in hypertensive patients : a six-year follow up. โดย Augusto Vicario และคณะ วารสาร Vascular Health and Risk Management 2011:7 281-285.
บทคัดย่อ ที่มา : มีการศึกษาหลากหลายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันโลหิตสูง, การบาดเจ็บของหลอดเลือด (vascular damage)และ ความเสื่อมของกระบวนการการรับรู้ (cognitive impairment)โดยการทำงานของสมองที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด ได้แก่ ด้านความจำ (memory) และด้านการบริหารจัดการ (executive function)
วัตถุประสงค์ 1.ประเมินด้านกระบวนการการรับรู้ (cognitive) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2.ค้นหาส่วนของสมองและการรับรู้ ที่มีผลกระทบ 3.หาความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบกับการวัดความดันโลหิต
วิธีการ ระยะเวลาติดตามไปข้างหน้า 6 ปี (observational 6 years follow-up cohort study) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการรักษา ทั้งเพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 60 ปี และไม่เกิน 80 ปี. เกณฑ์การคัดออก ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีประวัติ ได้แก่ เป็นโรคหลอดเลือดสมอง stroke หรือ transient ischemic attack , เบาหวาน , atrial fibrillation , เคยได้รับการผ่าตัดหัวใจ , ภาวะสมองเสื่อม (dementia) หรือ มีภาวะซึมเศร้า (depression) การประเมินระบบการรับรู้ด้านระบบประสาท (neurocognitive function) 4 ด้าน ได้ทำการประเมินเมื่อเริ่มต้น และที่ทุกๆสองปี. การทดสอบประเมินด้านความจำ (memory) และด้านการบริหารจัดการ (executive function). ความดันโลหิตได้ทำการประเมิน ทุกๆครั้งเมื่อทำการประเมินกระบวนการรับรู้ (cognitive evaluation).
ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษา ทั้งสิ้น 60 คน ระยะเวลาติดตาม 76.4 +/- 2.8 เดือน. อายุเฉลี่ยที่เวลาตั้งต้น ได้แก่ 72.5 +/- 4.2 และ ที่ปีที่ 6 ได้แก่ 77.9 +/- 4.6 ปี. เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65. มีผู้ป่วยที่หายไปจากการติดตามไป 2 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.3), เสียชีวิต จำนวน 8 คน (ร้อยละ 13.3). อัตราของโรคสมองเสื่อม (dementia) ร้อยละ 0.6 ผู้ป่วยต่อปี (pt/yr) (จำนวนผู้ป่วย 3 คน) และอัตราโรคซึมเศร้า (depression) ร้อยละ 1.6 ผู้ป่วยคนต่อปี (จำนวนผู้ป่วย 12 คน). ในช่วงระยะเวลาการติดตามไม่พบการเปลี่ยนแปลงในการประเมินด้านความจำบกพร่อง หรือ การผลประเมิน the Mini Mental State Examination (MMSE) (p=ns). พบการบกพร่องของด้านการบริหารจัดการ (executive function) โดยไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์การการวัดความดันโลหิต.
สรุป 1.พบอุบัติการของโรคสมองเสื่อม (dementia) เป็นสองเท่า ของประชากรทั่วไป. 2.ไม่พบการบกพร่องของ initial memory ในระหว่างระยะเวลาการติดตาม. 3.พบความบกพร่องของ กระบวน การรับรู้ (cognitive). สัมพันธ์กับด้านการบริหารจัดการ (executive function, prefrontal cortex) โดยไม่ได้คำนึงถึงการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและค่าระดับความดันโลหิต. |