Implication of New Hypertension Guidelines in the United States.
โดย Monica L. และคณะ Hypertension 2011;58:361-366.
บทคัดย่อ ในปีค.ศ.2007 สมาคมโรคหัวใจในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (The Ameircan Heart Association Task Force) โดยได้แนะนำให้ความคุมความดันโลหิตอย่างเข้มงวดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจหลอดเลือด ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยที่มีคะแนน 10 year Framingham risk core มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 10 โดยให้ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130 / 80 มิลลิเมตรปรอท. การศึกษานี้ได้ทำการประเมินกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามแนวทางคำแนะนำดังกล่าว. โดยทำการศึกษาแบบ Cross-sectional ใน National Health and Nutrition Examination Survey ในระหว่างปีค.ศ.2005 ถึง 2008. มีจำนวนผู้ร่วมการศึกษา 24,989 คน อายุ 18 ถึง 85 ปี. จากคำนิยามของโรคความดันโลหิตสูงเดิม (มากกว่า 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท) พบว่า ประชากรอเมริกันจำนวน 98 ล้านคน (ร้อยละ 21) เป็นโรคความดันโลหิตสูง หากใช้นิยามใหม่ พบว่ามีจำนวนประชากรเพิ่มเติมอีก 52 ล้านคน (ร้อยละ 11) มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ต้องการการรักษา จากจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 150 ล้านคน (ร้อยละ 32) พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตมากที่สุด (จำนวน 50.6 ล้านคน) , รองลงมาได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (43.7 ล้านคน) และผู้ป่วยโรคระบบหัวใจหลอดเลือด (43.3 ล้านคน)
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงของโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีจะมีความระมัดระวังในโรคความดันโลหิตสูงของตนเองและรับประทานยาลดความดันโลหิต แต่ก็พบปัญหาไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ คงต้องมีการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับการรักษาความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงดังกล่าว.
|