โดย Giovanni Corrao และคณะ Hypertension 2011;58:566-572.
บทคัดย่อ คำแนะนำในการรักษาความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำให้เริ่มต้นด้วยยา 2 ตัวร่วมกัน เพื่อให้สามารถคุมความดันโลหิตด้วยความรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน. สำหรับข้อมูลประโยชน์สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อใช้ยาสองตัวร่วมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาตัวเดียว ยังมีจำกัด. วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อเปรียบเทียบผลในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างการใช้ยาลดความดันโลหิตตัวเดียว กับการใช้ยาสองตัวร่วมกัน. การศึกษาเป็นแบบ Population-based, nested case-control study ในผู้ป่วยจำนวน 209,650 รายในเมือง Lombardy ประเทศอิตาลี , ในกลุ่มอายุ 40 ถึง 79 ปี ซึ่ง ในรับยาลดความดันโลหิต ระหว่างปีค.ศ. 2000 ถึง 2001. พบว่าผู้ป่วยจำนวน 10,688 คน นอนโรงพยาบาลเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่ได้รับยา จนกระทั่งปีค.ศ.2007. การวิเคราะห์แบบ Logistic regression เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด กับการเริ่มยา และหรือการใช้ยาสองตัวร่วมกันต่อเนื่อง. การวิเคราะห์ Monte-Carlo Sensitivity เพื่อหาปัจจัยตัวกวน. จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เริ่มยากลุ่ม combination therapy สามารถลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด ได้ ร้อยละ 11 เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่ม Monotherapy (95%CI:5% ถึง 16%). สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มด้วยยา combination therapy แต่เปลี่ยนเป็นรักษาต่อเนื่องด้วย monotherapy สามารถลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด ได้ร้อยละ 26 (95%CI: 15% ถึง 35%).
สรุป ในทางปฏิบัติ การใช้ลดความดันโลหิตร่วมกัน มีความสัมพันธ์ในการลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด โดยข้อบ่งชี้ในการให้ยาลดความดันโลหิตร่วมกัน ควรแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน. |