แปล Additional of Spironolactone in Patients With Resistant Arterial Hypertension (ASPIRANT). A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial
โดย Jan Vaclavik และคณะ
Hypertension 2011; 57:1069-1075.
ในปัจจุบันยังมีข้อมูลจำกัด ว่ายาใดที่ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย resistant hypertension. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดูผลของการเพิ่มยา Spironolactone 25 มิลลิกรัม ในผู้ป่วย resistant arterial hypertension. ผู้ป่วยที่มึความดันซิสโตลิกมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันไดแอสโตลิก มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ทั้งๆที่ได้รับยาความลดความดันโลหิตอย่างน้อย 3 ตัวซึ่งประกอบด้วยยาขับปัสสาวะ, โดยกลุ่มผู้ป่วยได้ถูกนำเข้าการศึกษาแบบ double-blind, placebo-controlled. muticenter. จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 117 คน ถูกแบ่งกลุ่มโดยใช้วิธี simple randomization โดย เป็นกลุ่มที่ได้รับยา Spironolactone เพิ่มเติมจำนวน 59 คน และได้รับยาหลอก จำนวน 58 คน. การวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มผู้ป่วยทั้งสิ้น 111 คน (ได้รับยา Spironolactone 55 คน และได้รับยาหลอกจำนวน 56 คน)
ที่ระยะเวลา 8 สัปดาห์, primary end points ได้แก่ ค่าความแตกต่างของความดันโลหิตใน daytime ambulatory BP monitoring (ABPM) ระหว่างกลุ่ม พบว่า ความดันซิสโตลิก ลดลง 5.4 มิลลิเมตรปรอท (95%CI -10.0; -0.8, p=0.024) และความดันไดแอสโตลิก ลดลง 1.0 มิลลิเมตรปรอท (95%CI -4.0; 2.0, p=0.358) ค่าความดันซิสโตลิก APBM nighttime , ค่าความดันซิสโตลิก 24 ชั่วโมง ABPM และ ค่าความดันซิสโตลิก office ลดลงในกลุ่มที่ได้รับยา Spironolactone อย่างมีนัยสำคัญ (difference of -8.6, -9.8, และ -6.5 มิลลิเมตรปรอท ค่า p= 0.011, 0.004 และ 0.011 ตามลำดับ). พบว่าค่าความดันไดแอสโตลิกของกลุ่มต่างๆดังกล่าว ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญ (-3.0, -1.0 และ -2.5 มิลลิเมตรปรอท p=0.079, 0.405 และ 0.079 ตามลำดับ)
สรุป Spironolactone เป็นยาที่ประสิทธิภาพในการลดความดันซิสโตลิกในผู้ป่วย resistant arterial hypertension. |