Maximum Value of Home Blood Pressure. โดย Yoshio Matsui และคณะ
วารสาร Hypertension 2011;57:1087-1093.
บทคัดย่อ ค่าสูงสุดของระดับความดันซิสโตลิค ในโรงพยาบาลเป็นปัจจัยพยากรณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ยังไม่มีการรายงานความสัมพันธ์ในผลทางคลินิกต่อค่าสูงสุดของความดันซิสโตลิกที่บ้าน. การศึกษานี้ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน และ target organ damage (TOD). โดยได้ประเมินค่า left ventricular mass index (LVMI) และ carotid intima-media thickness (IMT) โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ และ urinary albumin/creatinine ratio (UACR) ในการประเมิน TOD ผู้ป่วยจำนวน 356 คนซึ่งไม่เคยได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน.
การวัดความดันโลหิตที่บ้าน นั้นทำในตอนเช้า และตอนเย็น ติดต่อกัน 14 วัน. ค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดของค่าความดันซิสโตลิกในระยะเวลา 14 วัน ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับ LVMI (r= 0.51, p<0.001), carotid IMT (r=0.40, p<0.001) และ UACR (r=0.29, p<0.001).
ค่าความสัมพันธ์ correlation coefficients กับ LVMI และ carotid IMT นั้นพบว่าสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน มากกว่าค่าเฉลี่ยของความดันซิสโตลิกที่บ้าน.
ในการวิเคราะห์ multivariate regression พบว่า ค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน มีความสัมพันธ์กับ LVMI และ carotid IMT มากกว่าค่าเฉลี่ยของค่าความดันดังกล่าว. ในการพยากรณ์ของ left ventricular hypertrophy และ carotid atherosclerosis พบว่าจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน ร่วมกับผลรวมของค่าเฉลี่ยความดันโลหิตที่โรงพยาบาลและที่บ้าน (p=0.002 และ p<0.001 ตามลำดับ).
จากการศึกษานี้ พบว่าการนำค่าความดันซิสโตลิกสูงสุดที่บ้าน มาใช้ร่วมกับค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตที่บ้าน อาจจะเพิ่มค่าการพยากรณ์ hypertensive TOD ในระบบหัวใจและหลอดเลือด.
|