Lancet 2010;376:163-72
บทคัดย่อ ที่มา : การควบคุมความดันโลหิตเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ก็สามารถทำได้ยาก. การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของการควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตที่ไม่ค่อยดี โดยเปรียบเทียบระหว่างวิธีการติดตามการควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง กับ วิธีการรักษาทั่วๆไป.
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาชนิด randomised controlled trial ในสถานพยาบาล 24 แห่งในประเทศอังกฤษ. ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 35 ปี ถึง 85 ปี โดยมีระดับความดันโลหิตมากกว่า 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท ทั้งที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต. ผู้ป่วยมีความเต็มใจที่จะร่วมในการติดตามระดับความดันโลหิตด้วยตนเอง. ผู้ป่วยในกาาศึกษา จะได้รับการสุ่ม โดยใช้ Web-based system แบบอัตรา 1 ต่อ 1 ระหว่างการติดตามความดันโลหิตด้วยตนเอง และการรักษาปกติ . Primary endpoint ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของความดันซิสโตลิก จากระดับพื้นฐาน และในแต่ละครั้งของการติดตาม ที่ 6 เดือน และ 12 เดือน. การศึกษานี้ได้รับการลงทะเบียนที่ International Standard Randomised Controlled Trial, หมายเลข ISRCTN 17585681.
ผลการศึกษา : จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 527 คน ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ติดตามความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self-mangement) จำนวน 263 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 264 คน. คงเหลือวิเคราะห์ Primary analysis ทั้งสิ้น 480 คน (กลุ่มติดตามความดันโลหิตด้วยตนเอง จำนวน 234 คน และกลุ่มควบคุม 246 คน). สำหรับการติดตามที่ 6 เดือน ในกลุ่มที่ติดตามความดันโลหิตด้วยตนเอง พบค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิก ลดลง 12.9 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 10.4 - 15.5) ส่วนในกลุ่มควบคุม พบค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิก ลดลง 9.2 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 6.7 - 11.8)พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม 3.7 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 0.8 - 6.6; ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.013)
สำหรับการติดตามที่ 12 เดือน พบค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิก ลดลง 17.6 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 14.9 - 20.3)ในกลุ่มที่ติดตามความดันโลหิตด้วยตนเอง และ พบค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิก ลดลง 12.2 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 9.5 - 14.9)ในกลุ่มควบคุม โดยมีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม 5.4 มิลลิเมตรปรอท (95% CI 2.4 - 8.5; ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.0004)
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย แต่ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม ได้แก่ ภาวะขาบวม โดยในกลุ่มติดดามความดันโลหิตด้วยตนเองพบ ร้อยละ 32 (จำนวน 74 คน) และกลุ่มควบคุม ร้อยละ 22 (จำนวน 55 คน), ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.22
สรุป : การควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง ร่วมกับการติดตามความดันโลหิตโดย Telemonitoring มีความสำคัญ และเป็นแนวทางใหม่ในการความคุมความดันโลหิตในการดูแลรักษาระดับปฐมภูมิ. |